หลักการเลือกคอมพิวเตอร์
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับระดับผู้ใช้งานมีความสำคัญไม่แพ้การเลือกยี่ห้อของคอมพิวเตอร์
อีกทั้งการเลือกร้านค้าหรือตัวแทนมีความสำคัญเช่นกัน
เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ซ่อมเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป ดังนั้น
ร้านค้าที่ดีจะช่วยให้เราวางใจได้ในระดับหนึ่งว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งการเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ควรเลือกให้เหมาะสมกับระดับผู้ใช้งาน
หากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงมากๆ เพียงเพื่อใช้พิมพ์งานหรือฟังเพลง
ความคุ้มค่าของจำนวนเงินที่ซื้อไปจะสูญเปล่า
ดังนั้นทำให้เราต้องสนในเรื่องของการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์
หลักการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
การกำหนดระดับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
จะทำให้เราได้สเป็คเครื่องที่ตรงกับความต้องการ ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป
สำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ตามรูปแบบการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้
คือ ระดับผู้ใช้ทั่วไป (Basic User) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกส์ (Graphic
User) และผู้ใช้งานในระดับสูง (Advanced User) เราเองต้องรู้ระดับการใช้งานของเรา
เพื่อสามารถกำหนดสเป็คเครื่องที่เหมาะสมได้ต่อไป
1) สำหรับผู้ใช้มือใหม่
ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ
จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา
ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง จึงอาจทำให้เครื่องมีปัญหาได้
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นที่มีราคาแพง
2) สำหรับผู้ใช้งานในออฟฟิศ
จะคล้ายกับผู้ใช้มือใหม่ตรงที่ไม่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
เน้นการทำงานเอกสารหรืออาจจะใช้ Photoshop แต่งภาพเล็กๆ
น้อยๆ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะใกล้เคียงกับผู้ใช้มือใหม่
เพียงแต่ปรับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเพิ่มไดรว์ CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล
3) สำหรับนักศึกาามหาวิทยาลัย
ผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาจะเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้นสามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆ
ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้ระดับนี้อาจจะประกอบเครื่องใช้เองได้
เพราะจะทำให้ตนเองมีความรู้มากขึ้น การใช้งานเน้นไปทางพิมพ์งานส่งอาจารย์
4) สำหรับผู้ใช้งาน Windows
Vista จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงในระดับหนึ่ง ด้วยการเป็นซีพียู Dual
Core พร้อมแรม 1 GB ขึ้นไป ฮาร์ดิสก์ 250 GB หากตรงตามมาตรฐาน Window
Vista Premium ต้องใช้ฮาร์ดิสก์แบบไฮบริดเท่านั้น
ซึ่งในช่วงแรกฮาร์ดดิสก์แบบไฮบริดจะมีราคาแพงมาก
5) สำหรับผู้ใช้งานระดับสูง
หรือผู้ที่ชอบเล่นเกมส์จะต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูง
การประกอบเครื่องเองจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
ดังนั้นก่อนอื่นควรศึกษาและสำรวจอุปกรณ์ต่างๆ
ของคอมพิวเตอร์ก่อนว่า แต่ละอย่างมีคุณสมบัติอย่างไร และราคาเท่าไร
จากนั้นจึงหันกลับมาดูถึงความต้องการว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอะไรอย่างไร
จากนั้นจึงเลือกสเป็คให้พอดีกับความต้องการ ส่วนเรื่องบริษัทที่ผลิต (ยี่ห้อ)
และราคาจะเป็นปัจจัยในการเลือกรองลงมา
วิธีกำหนดสเป็คเครื่อง
หลังจากรู้ลักษณะการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้วว่าจะอยู่ในระดับใด
ต่อไปเป็นการกำหนดสเป็คเครื่องที่รองรับการทำงานประจำที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องพีซีนั้น
ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดสเป็คของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่เหมาะสมแตกต่างกันไป
โดยมีแนวทางในการเลือก ดังนี้
1) เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้มือใหม่
งานที่ใช้จะเป็นการสร้างเอกสาร/รายงาน ฟังเพลง ชมวิซีดี
และเล่นอินเทอร์เน็ต โดยที่ไม่ได้เน้นความเร็วและเทคโนโลยีที่สูงนัก
ในการเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ ไม่ต้องเน้นสเป็คเครื่องสูง
และอยู่ในระดับราคาที่ย่อมเยา สเป็คที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-1 แสดงสเป็คเครื่องสำหรับพีซีระดับผู้ใช้มือใหม่
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
|
สเป็คที่แนะนำ
|
ซีพียู
|
รุ่น Intel Celeron D หรือ AMD
Athlon64x2
ความเร็วซีพียู 700 MHz -1.3 GHz
|
แรม
|
ประเภท DDR-SDRAM ขนาด 256-512 MB
|
ฮาร์ดิสก์
|
ความจุ 80-160 GB ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
|
ไดรว์ CD/DVD
|
CD-ROM หรือ DVD-ROM
|
เมนบอร์ด
|
เลือกประเภทที่มีชิปประเภทแสดงผล
และเสียงมาด้วย (VGA และ Sound on-board)เพื่อไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มอีก
และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
|
สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น จอแสดงผลเลือกแบบ CRT ปกติ
อาจเลือกขนาด 17 นิ้ว สำหรับการชมภาพยนตร์ ส่วนไดรว์ซีดี, โมเด็ม,
ลำโพง
และอื่นๆ เลือกรุ่นที่สามารถใช้งานได้ในราคาปานกลางก็เพียงพอ
2) เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ในออฟฟิศ
เป็นเครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ
มีการใช้งานหลากหลายเช่น ตกแต่งภาพกราฟิกส์ งานเขียนโปรแกรม เล่นเกม
ดูหนัง/ฟังเพลง มีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองการใช้งาน
อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน
เครื่องที่ตอบสนองเร็วทันใจ ไม่ช้าจนน่ารำคาญ สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-2 แสดงสเป็คเครื่องสำหรับพีซีระดับผู้ใช้ในออฟฟิศ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
|
สเป็คที่แนะนำ
|
ซีพียู
|
รุ่น Intel Pentium Dual
Core หรือ AMD Athlon64x2
|
แรม
|
512 MB ขึ้นไป
|
ฮาร์ดิสก์
|
ความจุ 160 GB
|
เมนบอร์ด
|
เลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP
4x หรือ 8x สำหรับการ์ดแสดงผลคุณภาพ
|
การ์ดแสดงผล
|
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน AGP
4x หรือ 8x ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง
และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 32 MB ขึ้นไป
|
ไดรว์ CD/DVD
|
CD-ROM หรือ DVD-ROM (อาจเพิ่ม CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล)
|
จอแสดงผล
|
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 15-17
นิ้ว
|
3) เครื่องพีซีสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย
เป็นพีซีสำหรับใช้โปรแกรมต่างๆ และเล่นเกมส์ 3 มิติ
จำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีสเป็คสูงเช่นเดียวกัน สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-3 แสดงสเป็คเครื่องสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
|
สเป็คที่แนะนำ
|
ซีพียู
|
รุ่น Intel Pentium
Dual หรือ AMD Athlon64x2
|
แรม
|
512 MB – 1 GB
|
ฮาร์ดิสก์
|
ความจุ 200-250 GB แบบ Serial
ATA 300
|
เมนบอร์ด
|
ซีพียู Intel ควรเลือกชิปเซต i945P
ซีพียู AMD ควรเลือกชิปเซต nForce
4/500
|
การ์ดแสดงผล
|
nVidia GeForce 6600GT/7600 หรือ ATi
Radeon X1600/X1650
|
ไดรว์ CD/DVD
|
CD-ROM หรือ DVD-ROM (อาจเพิ่ม CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล)
|
จอแสดงผล
|
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 17 นิ้ว
|
4) เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้งาน Windows
Vista
สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-4 แสดงสเป็คเครื่องสำหรับผุ้ใช้งาน Windows
Vista
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
|
สเป็คที่แนะนำ
|
ซีพียู
|
รุ่น Intel Pentium Dual
Core หรือ Core 2 Duo หรือ
AMD Athlon 64 X2/Phenom X2
|
แรม
|
ประเภท DDR2-667 ขนาด
1-2 GB ทำงานแบบ Dual
Channel
|
ฮาร์ดิสก์
|
250 GB แบบ Serial ATA 300 (ควรเลือกฮาร์ดิสก์แบบไฮบริด)
|
เมนบอร์ด
|
เลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP
8x สำหรับการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูง
|
การ์ดแสดงผล
|
nVidia GeForce 7300GT/7600 หรือ ATi
Radeon X1600/X1650
|
จอแสดงผล
|
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือก LCD ขนาด
17 นิ้วขึ้นไป หรือ CRT 19 นิ้ว
|
5) เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้งานระดับสูง
สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-5 แสดงสเป็คเครื่องสำหรับผู้ใช้งานระดับสูง
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
|
สเป็คที่แนะนำ
|
ซีพียู
|
รุ่น Intel Core 2 Duo หรือ Intel
Core 2 Quad
|
แรม
|
ประเภท DDR2-800 ขนาด
1-2 GB ทำงานแบบ Dual
Channel
|
ฮาร์ดิสก์
|
320 GB แบบ Serial ATA 300 (หรือนำ
250 GB มาต่อ RAID 0)
|
เมนบอร์ด
|
เลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP
8x สำหรับการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูง
|
การ์ดแสดงผล
|
nVidia GeForce 8600GTS หรือ ATi
Radeon HD 2600 Pro
|
จอแสดงผล
|
จอภาพ LCD 19-22 นิ้ว
|
นอกจากนั้น
หากเครื่องของเราใช้ในการทำงานด้านตัดต่อวิดีโอเป็นหลัก
จำเป็นต้องเลือกการ์ดแสดงผลที่มีคุณภาพดี
เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการติดขัด
รวมทั้งขนาดของจอแสดงผลเลือกให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกด้วย
การเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซื้อซีพียูต้องพิจารณาเรื่องความเร็ว
ความเร็วขั้นต่ำแปรเปลี่ยนไปตามเวลา โดยปกติจะดูว่าซื้อเพื่ออะไร
เช่นถ้าซื้อใช้งานเป็นเพียงอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ในห้องเรียนให้นิสิตใช้เพื่อเป็นการเรียกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
สามารถใช้ซีพียูรุ่นต่ำที่มีขายในปัจจุบันราคาซีพียูในระดับต่ำนี้
การตัดสินใจจะเลือกซื้ออะไรมาใช้ คงต้องลองศึกษาจากหลายๆ องค์ประกอบ
โดยเฉพาะการมองหารายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย รวมทั้งงบประมาณการลงทุนต่างๆ ที่มีอยู่ด้วย
เทคนิคที่เกี่ยวกับซีพียูทั้งสองด้านนี้ สามารถหาได้ได้จากเว็บไซต์ของบริษัท
อันดับแรกที่เราควรให้ความสำคัญ
ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจำมาประกอบเอง
หรือซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเซตก็ตาม คือการเลือกซีพียูนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นรุ่นและความเร็วของซีพียูตามระดับการใช้งานของเรา
เพื่อเราจะได้ทราบรูปแบบอินเทอร์เฟส (Socket) สำหรับติดตั้งบนเมนบอร์ด
เพื่อเลือกซื้อเมนบอร์ดที่ตรงกับรุ่นของซีพียูต่อไป
การเลือกความเร็วของซีพียู : ความเร็วของซีพียูในปัจจุบันถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว
สามารถแบ่งความเหมาะสมตามลักษณะของงานที่ทำได้ดังนี้
ตารางที่ 2-4 แสดงความเร็วของซีพียูที่เหมาะสมกับงานต่างๆ
ลักษณะของงานที่ต้องการ
|
ความเร็วของซีพียู
|
งานพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง
และเล่นอินเทอร์เน็ต
|
ใช้ความเร็ว 700 – 1300 MHz
|
งานกราฟิกส์ ตกแต่งภาพความละเอียดสูง
|
ใช้ความเร็ว 1.3 – 2.0 GHz
|
งานสร้างมัลติมีเดีย ตัดต่อเสียง และวิดีโอ
|
ใช้ความเร็ว 2.0 GHz ขึ้นไป
|
เลือกยี่ห้อของซีพียู : หากถามว่าจะเลือกซื้อซีพียู
ค่ายไหนดี เท่าที่นิยมกันส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็มี Intel และAMDเท่านั้น
ซีพียูจากค่าย Intel
: ผลิตทั้งรุ่นที่ออกมาสำหรับตลาดระดับล่างอย่าง Celeron และรุ่น Pentium
4 สำหรับตลาดระดับบนที่ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานสูง
โดยมากแล้วชิปซีพียูจากค่าย Intel จะได้รับความนิยมสูงกว่าค่ายอื่นๆ
เพราะมีเสถียรภาพสูงกว่า และร้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ AMD
ซีพียูจากค่าย AMD
: ถือเป็นคู่แข่งตลอดกาลของ Intel โดยมีชิปซีพียูรุ่น Duron สำหรับตลาดราคาประหยัด
และAthlonXP สำหรับตลาดระดับบน โดยตัวเลขที่บอกประสิทธิภาพนั้นจะเปรียบเทียบกับ Athlon รุ่น Thunderbird ไม่ได้บอกเป็นความเร็วสัญญาณนาฬิกาเหมือนอย่าง Intel โดยรวมแล้ว
ชิปซีพียูของ AMD มีราคาต่ำกว่าพอสมควร
ถือเป็นทางเลือกของผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และประสิทธิภาพถือว่าไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น